วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยอดรัก สลักใจ


ชื่อในวงการ : ยอดรัก สลักใจ
ชื่อจริง : นายนิพนธ์ ไพรวัลย์
ชื่อเล่น : แอ๊ว
บ้านเกิด : พิจิตร
เกิดวันที่ : 6 ก.พ.
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
คติประจำใจ : สู้เพื่อวันข้างหนา
สีที่ชอบ : น้ำเงิน
อาหารที่ชอบ : อาหารอีสานทุกอย่าง
ความเป็นมา :เมื่อยอดรักยังเด็ก เขาไปสมัครร้องเพลงกับคณะรำวง “เกตุน้อยวัฒนา” ซึ่งได้เงินมาครั้งละ 5-10 บาท และต่อมามีโอกาสไปร้องเพลงในห้องอาหารที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยได้ใช้เพลงของไพรวัลย์ ลูกเพชร, ชาย เมืองสิงห์, สุรพล สมบัติเจริญ, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เป็นต้น จนกระทั่งวันหนึ่ง เด็ดดวง ดอกรัก นักจัดรายการของสถานีวิทยุ ท.อ.04 ตาคลี ได้มาฟังเพลงที่ห้องอาหาร และประทับใจยอดรักที่ร้องเพลง ' ใต้เงาโศก ' ของ ' ไพรวัลย์ ลูกเพชร ' จึงได้มาชักชวนเข้าสู่วงการ โดยนำมาฝากกับ อาจารย์ ชลธี ธารทอง ยอดรักก็ได้อยู่เลี้ยงลูกให้อาจารย์ชลธีเกือบหนึ่งปี และตั้งชื่อให้ว่า “ ยอดรัก ลูกพิจิตร ” และได้บันทึกแผ่นเสียง 3 เพลงคือ สงกรานต์บ้านทุ่ง, น้ำสังข์ น้ำตา และ เต่ามองดวงจันทร์
ผลงานเพลง : - 30 ยังแจ๋ว ค่ายอโซน่า
- ลูกทุ่งทองแท้
- อำลาอาลัย 15 ปียอดรัก
- ลวดลายยอดรัก
- ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน
- เบรกไม่อยู่
- คณะบุญหลายมันส์หยุดโลก
- ต้นฉบับเพลงทอง
- ยอดรักยอดฮิต
รางวัลและเกียรติยศ : 
      พ.ศ. 2520 ได้รับรางวัลพระราชทานเสาอากาศทองคำ ประเภทนักร้องยอดเยี่ยมในเพลง ทหารเรือมาแล้ว
      พ.ศ. 2522 ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ประเภทนักร้องยอดนิยมลูกทุ่งชาย จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (28 ธันวาคม 2533)
      พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ เพลง กำนันกำใน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่เป็นผู้มีความสามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง ไพเราะ เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ เป็นตัวอย่างอันดีแก่เยาวชน
      พ.ศ. 2523-2524 ได้รับรางวัลทีวีตุ๊กตาทองมหาชน โดยคะแนนเสียงจากประชาชนทั่วประเทศ 2 ปีซ้อน ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์บ้านเมือง
      พ.ศ. 2532 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ในเพลง จักรยานคนจน
      พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติให้ร้องเพลงชนะเลิศจากการประกวดวันแม่แห่งชาติ และเป็นเกียรติสูงสุดที่ได้ร้องถวายในวันครบรอบ 90 พรรษา สมเด็จย่า ในเพลง สมเด็จย่า
      พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 ในเพลง ทหารใหม่ไปกอง
      พ.ศ. 2551 ได้รับรางวัล "ปริยศิลปิน" จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในฐานะที่เป็นศิลปินที่เป็นที่รักของประชาชน ซึ่งถือเป็นรางวัลเกียรติยศภายหลังการเสียชีวิตแล้ว และถือเป็นศิลปินคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ด้วย

แหล่งที่มา : ท็อปไลน์-ไดมอนด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น